วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

ความเป็นมาเรื่องมัทนะพาธา

มัทนะพาธา



๑. สาระสำคัญ

สาระสำคัญ : มัทนะพาธา เป็นวรรณคดีประเภท บทละครพูดพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๖ที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถทางด้านอักษรศาสตร์พระองค์

บทละครเรื่องนี้ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์ด้วยการเลือกถ้อยคำที่สื่ออารมณ์ความรู้สึกของตัวละครได้ดีเยี่ยมตลอดจนมีการวางโครงเรื่องที่ชวนให้ติดตามทั้งยังสอดแทรกคติสอนใจเรื่องความรักได้อย่างซาบซึ้งกินใจอีกด้วย

๒. ความเป็นมา

ความเป็นมา : มัทนะพาธา แปลว่า ความเจ็บปวดหรือความเดือดร้อนเพราะความรัก

บทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธาหรือตำนานดอกกุหลาบมีลักษณะเป็นบทละครพูดคำฉันท์ จำนวน ๕ องค์ (ตอน) แบ่งเป็น ๒ ภาค คือ ภาคสวรรค์และภาคพื้นดิน เป็นบทพระราชนิพนธ์จากจินตนาการในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่๖)นางเอกของเรื่องมีนามว่ามัทนาซึ่งมีความหมายว่าความลุ่มหลงหรือความรักแทนคำว่ากุพชกะที่แปลว่าดอกกุหลาบบทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เมื่อ๒กันยายน๒๔๖๖ ณพระราชวังพญาไท และเสร็จสมบูรณ์ในวันที่๑๘ตุลาคมปีเดียวกัน(๑เดือน ๑๖วัน )เมื่อพระราชนิพนธ์เสร็จก็พระราชทานแก่สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจีพระวรชายาแนวคิดของเรื่องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความรักความลุ่มหลงความเจ็บร้าวระทมเพราะความรักซึ่งตัวละครทุกตัวจะต้องได้รับรสดังกล่าวนี้
  
๓. ประวัติผู้แต่ง

ประวัติผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ มีพระนามเดิมว่ามหาวชิราวุธ เป็นโอรสองค์ที่๒๙ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๕ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่๑มกราคม๒๔๒๓ทรงศึกษาในประเทศไทยจนพระชนมายุได้๑๔พรรษาก็เสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษต่อมาเสด็จนิวัติประเทศไทยเมื่อวันที่๑๖มกราคม๒๔๓๘เพื่อรับการสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร(ผู้ที่จะได้เป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป)และทรงกลับไปศึกษาวิชาทหาร ณ โรงเรียนทหารบกที่แซนด์เฮิซต์ เมื่อพ.ศ.๒๔๔๓ได้เข้าศึกษาวิชาประวัติศาสตร์และวิชากฎหมาย ณ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด แต่ทรงพระปรีชาสามารถทางด้านอักษรศาสตร์เป็นพิเศษ จนแต่งบทละครเป็นภาษาอังกฤษได้เมื่อสำเร็จการศึกษาพระองค์ทรงเสด็จประพาสยุโรปก่อนแล้วจึงเสด็จนิวัติประเทศไทย เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ ขณะมีพระชนมายุ ๓๐ พรรษา สวรรคตเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ (ครองราชย์๑๕ ปี พระชนมายุ ๔๕ พรรษา) วัตถุประสงค์ในการพระราชนิพนธ์ เรื่อง มัทนะพาธาทรงตั้งพระทัยเพื่อเป็นหนังสืออ่านกวีนิพนธ์ที่สนุกสนานในด้านเนื้อหา และเป็นคติสอนใจให้เห็นถึงอานุภาพของความรัก
ผลงานพระราชนิพนธ์ : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านอักษรศาสตร์เป็นเลิศจึงทรงมีพระราชนิพนธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองกว่า๒๐๐เรื่องเช่นเรื่องศกุนตรารามเกียรติ์ บทละครเรื่องเวนิสวานิช เป็นต้นในงานพระราชนิพนธ์ทรงใช้นามปากกาว่าอัศวพาหุรามจิตติ พันแหลมศรีอยุธยานายแก้วนายขวัญ พระขรรค์เพชร นายแก้ว ณ อยุธยา น้อยลา ท่านราม ณ กรุงเทพ สำหรับบทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจ้าอยู่หัวยังทรงได้รับพระราชสมัญญานามว่า พระมหาธีรราชเจ้าซึ่งมีความหมายว่านักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่

๔. ลักษณะคำประพันธ์

ลักษณะคำประพันธ์ : บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา ประกอบด้วยคำประพันธ์หลายชนิดดังนี้
๑. กาพย์ ๓ ชนิด คือ กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
๒. ฉันท์ ๒๑ ชนิด เช่น วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ อุปชาติฉันท์ ๑๑ ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ อินทวงศ์ฉันท์ ๑๒ วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ เป็นต้น
หมายเหตุ : ตัวเลขที่ตามหลังชื่อฉันท์ หมายถึงจำนวนคำใน ๑ บาท

ความเป็นมา : มัทนะพาธา แปลว่า ความเจ็บปวดหรือความเดือดร้อนเพราะความรัก

บทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธาหรือตำนานดอกกุหลาบมีลักษณะเป็นบทละครพูดคำฉันท์ จำนวน ๕ องค์ (ตอน) แบ่งเป็น ๒ ภาค คือ ภาคสวรรค์และภาคพื้นดิน เป็นบทพระราชนิพนธ์จากจินตนาการในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่๖)นางเอกของเรื่องมีนามว่ามัทนาซึ่งมีความหมายว่าความลุ่มหลงหรือความรักแทนคำว่ากุพชกะที่แปลว่าดอกกุหลาบบทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เมื่อวันที่๒กันยายน๒๔๖๖ณพระราชวังพญาไท และเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ ๑๘ ตุลาคม ปีเดียวกัน๑เดือน๑๖ วันเมื่อพระราชนิพนธ์เสร็จก็พระราชทานแก่สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจีพระวรชายาแนวคิดของเรื่องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความรักความลุ่มหลงความเจ็บร้าวระทมเพราะความรักซึ่งตัวละครทุกตัวจะต้องได้รับรสดังกล่าวนี้


๓. ประวัติผู้แต่ง

ประวัติผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ มีพระนามเดิมว่ามหาวชิราวุธ เป็นโอรสองค์ที่๒๙ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๕ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่๑มกราคม ๒๔๒๓ทรงศึกษาในประเทศไทยจนพระชนมายุได้๑๔พรรษา ก็เสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษต่อมาเสด็จนิวัติประเทศไทยเมื่อวันที่๑๖มกราคม๒๔๓๘เพื่อรับการสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร(ผู้ที่จะได้เป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป)และทรงกลับไปศึกษาวิชาทหาร ณ โรงเรียนทหารบกที่แซนด์เฮิซต์ เมื่อพ.ศ.๒๔๔๓ ได้เข้าศึกษาวิชาประวัติศาสตร์และวิชากฎหมาย ณ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดแต่ทรงพระปรีชาสามารถทางด้านอักษรศาสตร์เป็นพิเศษจนแต่งบทละครเป็นภาษาอังกฤษได้เมื่อสำเร็จการศึกษาพระองค์ทรงเสด็จประพาสยุโรปก่อนแล้วจึงเสด็จนิวัติประเทศไทย เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ ขณะมีพระชนมายุ ๓๐ พรรษา สวรรคตเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ ( ครองราชย์ ๑๕ ปี พระชนมายุ ๔๕ พรรษา) วัตถุประสงค์ในการพระราชนิพนธ์ เรื่อง มัทนะพาธา ทรงตั้งพระทัยเพื่อเป็นหนังสืออ่านกวีนิพนธ์ที่สนุกสนานในด้านเนื้อหา และเป็นคติสอนใจให้เห็นถึงอานุภาพของความรัก
ผลงานพระราชนิพนธ์ : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านอักษรศาสตร์เป็นเลิศจึงทรงมีพระราชนิพนธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองกว่า๒๐๐เรื่องเช่นเรื่องศกุนตรา รามเกียรติ์ บทละครเรื่องเวนิสวานิช เป็นต้นในงานพระราชนิพนธ์ทรงใช้นามปากกาว่าอัศวพาหุ รามจิตติ พันแหลม ศรีอยุธยานายแก้วนายขวัญ พระขรรค์เพชร นายแก้ว ณ อยุธยา น้อยลา ท่านราม ณ กรุงเทพ สำหรับบทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจ้าอยู่หัวยังทรงได้รับพระราชสมัญญานามว่า พระมหาธีรราชเจ้าซึ่งมีความหมายว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่

๔. ลักษณะคำประพันธ์

ลักษณะคำประพันธ์ : บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา ประกอบด้วยคำประพันธ์หลายชนิดดังนี้
๑. กาพย์ ๓ ชนิด คือ กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
๒. ฉันท์ ๒๑ ชนิด เช่น วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ อุปชาติฉันท์ ๑๑ ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ อินทวงศ์ฉันท์ ๑๒ วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ เป็นต้น
หมายเหตุ : ตัวเลขที่ตามหลังชื่อฉันท์ หมายถึงจำนวนคำใน ๑ บาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น